Using Dynamic Memory in Hyper-V on Windows Server 2008 R2 SP1
การใช้งาน Dynamic Memory ในระบบ Hyper-V บน Windows Server 2008 R2 SP1
Dynamic Memory เป็นคุณสมบัติใหม่ใน Service Pack 1 (SP1) สำหรับ Windows Server 2008 R2 และ Hyper-V Server 2008 R2 ที่ช่วยให้สามารถใช้งานหน่วยความจำทางกายภาพ (Physical Memory) ในระบบ Hyper-V ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น มีความเป็นไดนามิกมากขึ้น สามารถรองรับการขยายระบบได้มากขึ้นและง่ายขึ้น
โดยก่อนหน้าที่จะมี SP1 นั้น การกำหนดหน่วยความจำให้กับเวอร์ชวลแมชชีน (Virtual machine) ในระบบ Hyper-V จะเป็นแบบคงที่ (Static Memory) หมายความว่าเวอร์ชวลแมชชีนแต่ละตัวจะครอบครองหน่วยความจำที่กำหนดให้ตลอดเวลาที่เปิดเครื่องไม่ว่าเวอร์ชวลแมชชีนจะอยู่ในสถานะทำงานหรือหยุดทำงานชั่วคราวก็ตาม โดยเวอร์ชวลแมชชีนจะคืนหน่วยความจำให้ระบบก็ต่อเมื่ออยู่ในสถานะบันทึกหรือปิดเครื่องเท่านั้น
สำหรับเอนทรี่นี้จะสาธิตวิธีการใช้งานคุณสมบัติ Dynamic Memory ในระบบ Hyper-V บน Windows Server 2008 R2 SP1 โดยก่อนอื่นขอแนะนำพารามิเตอร์ต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นหลังจากทำการติดตั้ง SP1 ดังนี้
Dynamic Memory:
เป็นโหมดใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาในหัวข้อ Memory management ในระบบ Hyper-V บน Windows Server 2008 R2 SP1 และ Hyper-V Server 2008 R2 ใช้สำหรับกำหนดหน่วยความจำให้กับเวอร์ชวลแมชชีนในแบบไดนามิก
Startup RAM:
เป็นพารามิเตอร์ย่อยในโหมด Dynamic Memory ใช้สำหรับกำหนดค่าหน่วยความจำเริ่มต้นให้กับเวอร์ชวลแมชชีน เมื่อเวอร์ชวลแมชชีนเริ่มทำงานก็จะได้รับการจัดสรรหน่วยความจำตามค่าที่กำหนด ตัวอย่างเช่น เวอร์ชวลแมชชีนเริ่มทำงานด้วยหน่วยความจำ 512 MB วิธีการกำหนดค่าทำได้โดยการป้อนค่าที่ต้องการในช่อง Startup RAM
Maximum RAM:
เป็นพารามิเตอร์ย่อยในโหมด Dynamic Memory ใช้สำหรับกำหนดค่าหน่วยความจำสูงสุดที่เวอร์ชวลแมชชีน (Guest Operating) สามารถใช้งานได้ โดยค่าดีฟอลท์จะกำหนดเป็น 64 GB (65536 MB) ซึ่งเป็นค่าความจำสูงสุดที่ Guest OS รองรับได้ วิธีการกำหนดค่าทำได้โดยการป้อนค่าที่ต้องการในช่อง Maximum RAM
Memory Buffer:
เป็นพารามิเตอร์ย่อยในโหมด Dynamic Memory ใช้สำหรับกำหนดค่าเปอร์เซ็นต์หน่วยความจำที่ Hyper-V จะสงวนไว้สำหรับใช้เป็นบัฟเฟอร์ โดย Hyper-V จะคำนวณขนาดของบัฟเฟอร์จากค่าเปอร์เซ็นต์ที่กำหนดและค่าความต้องการหน่วยความจำในขณะนั้น วิธีการกำหนดค่าทำได้โดยการป้อนค่าที่ต้องการในช่อง Memory Buffer โดยค่าดีฟอลท์เป็น 20%
Memory weight:
Memory weight เป็นหัวข้อใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาในระบบ Hyper-V หลังทำการติดตั้ง SP1 เป็นตัวที่ใช้ในการกำหนดระดับความสำคัญในการจัดสรรหน่วยความจำให้กับเวอร์ชวลแมชชีนนั้นเมื่อเทียบกับเวอร์ชวลแมชชีนตัวอื่นๆ บนระบบ ช่วยให้สามารถปรับความสำคัญในการรับจัดสรรหน่วยความจำให้กับเวอร์ชวลแมชชีนได้ตามภาระงาน อย่างเช่น ตั้งให้เซิร์ฟเวอร์ Domain Controller มี Memory weight มากกว่าเซิร์ฟเวอร์ Print server เป็นต้น
วิธีการกำหนดค่า Memory weight ทำได้โดยการเลื่อนสไลด์ไปยังค่าที่ต้องการ โดยค่าดีฟอลท์เป็น Medium และสามารถทำการปรับระดับได้โดยไม่ต้องทำการปิดเวอร์ชวลแมชชีน อย่างไรก็ตาม มีข้อควรระวัง คือ การตั้งค่า Memory weight ให้กับเวอร์ชวลแมชชีนน้อยเกินไปอาจจะทำให้เวอร์ชวลแมชชีนไม่สามารถทำงานได้ถ้ามีเวอร์ชวลแมชชีนกำลังทำงานอยู่และมีหน่วยความบนเซิร์ฟเวอร์ Hyper-V เหลือน้อย
หมายเหตุ: สามารถอ่านรายละเอียดการติดตั้ง SP1 บน Windows Server 2008 R2 ได้จากเว็บไซต์ใน "แหล่งข้อมูลอ้างอิง"
สำหรับวิธีการคอนฟิก Dynamic Memory ให้กับเวอร์ชวลแมชชีนมีขั้นตอน ดังนี้
1. คลิก Start คลิก All Programs คลิก Administrative Tools แล้วคลิก Hyper-V Manager
2. ในหน้าต่าง Hyper-V Manager ในคอลัมน์ Virtual Machines ให้คลิกขวาบนเวอร์ชวลแมชชีนที่ต้องการแล้วคลิก Settings
3. ในหน้าต่าง Settings for VM_name ในคอนโซลทรีด้านซ้ายมือให้คลิกหัวข้อ Memory [1] จากนั้นในคอลัมน์ Memory ด้านขวามือ ในหัวข้อ Memory management ให้เลือกเป็น Dynamic [2] แล้วกำหนดค่า Startup RAM, Maximum RAM และ Memory buffer ตามความต้องการ
จากนั้นในหัวข้อ Memory weight [3] ให้กำหนดค่าลำดับความสำคัญในการจัดสรรหน่วยความจำให้กับเวอร์ชวลแมชชีนโดนการเลื่อนสไลด์ไปยังค่าที่ต้องการ เสร็จแล้วคลิก OK เพื่อจบการคอนฟิก
หลังจากทำการคอนฟิกเวอร์ชวลแมชชีนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะสามารถใช้คุณสมบัติ Dynamic Memory ซึ่งเป็นคุณสมบัติใน SP1 ได้
บทความโดย: Thai Windows Administrator Blog
Dynamic Memory เป็นคุณสมบัติใหม่ใน Service Pack 1 (SP1) สำหรับ Windows Server 2008 R2 และ Hyper-V Server 2008 R2 ที่ช่วยให้สามารถใช้งานหน่วยความจำทางกายภาพ (Physical Memory) ในระบบ Hyper-V ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น มีความเป็นไดนามิกมากขึ้น สามารถรองรับการขยายระบบได้มากขึ้นและง่ายขึ้น
โดยก่อนหน้าที่จะมี SP1 นั้น การกำหนดหน่วยความจำให้กับเวอร์ชวลแมชชีน (Virtual machine) ในระบบ Hyper-V จะเป็นแบบคงที่ (Static Memory) หมายความว่าเวอร์ชวลแมชชีนแต่ละตัวจะครอบครองหน่วยความจำที่กำหนดให้ตลอดเวลาที่เปิดเครื่องไม่ว่าเวอร์ชวลแมชชีนจะอยู่ในสถานะทำงานหรือหยุดทำงานชั่วคราวก็ตาม โดยเวอร์ชวลแมชชีนจะคืนหน่วยความจำให้ระบบก็ต่อเมื่ออยู่ในสถานะบันทึกหรือปิดเครื่องเท่านั้น
สำหรับเอนทรี่นี้จะสาธิตวิธีการใช้งานคุณสมบัติ Dynamic Memory ในระบบ Hyper-V บน Windows Server 2008 R2 SP1 โดยก่อนอื่นขอแนะนำพารามิเตอร์ต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นหลังจากทำการติดตั้ง SP1 ดังนี้
Dynamic Memory:
เป็นโหมดใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาในหัวข้อ Memory management ในระบบ Hyper-V บน Windows Server 2008 R2 SP1 และ Hyper-V Server 2008 R2 ใช้สำหรับกำหนดหน่วยความจำให้กับเวอร์ชวลแมชชีนในแบบไดนามิก
Startup RAM:
เป็นพารามิเตอร์ย่อยในโหมด Dynamic Memory ใช้สำหรับกำหนดค่าหน่วยความจำเริ่มต้นให้กับเวอร์ชวลแมชชีน เมื่อเวอร์ชวลแมชชีนเริ่มทำงานก็จะได้รับการจัดสรรหน่วยความจำตามค่าที่กำหนด ตัวอย่างเช่น เวอร์ชวลแมชชีนเริ่มทำงานด้วยหน่วยความจำ 512 MB วิธีการกำหนดค่าทำได้โดยการป้อนค่าที่ต้องการในช่อง Startup RAM
Maximum RAM:
เป็นพารามิเตอร์ย่อยในโหมด Dynamic Memory ใช้สำหรับกำหนดค่าหน่วยความจำสูงสุดที่เวอร์ชวลแมชชีน (Guest Operating) สามารถใช้งานได้ โดยค่าดีฟอลท์จะกำหนดเป็น 64 GB (65536 MB) ซึ่งเป็นค่าความจำสูงสุดที่ Guest OS รองรับได้ วิธีการกำหนดค่าทำได้โดยการป้อนค่าที่ต้องการในช่อง Maximum RAM
Memory Buffer:
เป็นพารามิเตอร์ย่อยในโหมด Dynamic Memory ใช้สำหรับกำหนดค่าเปอร์เซ็นต์หน่วยความจำที่ Hyper-V จะสงวนไว้สำหรับใช้เป็นบัฟเฟอร์ โดย Hyper-V จะคำนวณขนาดของบัฟเฟอร์จากค่าเปอร์เซ็นต์ที่กำหนดและค่าความต้องการหน่วยความจำในขณะนั้น วิธีการกำหนดค่าทำได้โดยการป้อนค่าที่ต้องการในช่อง Memory Buffer โดยค่าดีฟอลท์เป็น 20%
Memory weight:
Memory weight เป็นหัวข้อใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาในระบบ Hyper-V หลังทำการติดตั้ง SP1 เป็นตัวที่ใช้ในการกำหนดระดับความสำคัญในการจัดสรรหน่วยความจำให้กับเวอร์ชวลแมชชีนนั้นเมื่อเทียบกับเวอร์ชวลแมชชีนตัวอื่นๆ บนระบบ ช่วยให้สามารถปรับความสำคัญในการรับจัดสรรหน่วยความจำให้กับเวอร์ชวลแมชชีนได้ตามภาระงาน อย่างเช่น ตั้งให้เซิร์ฟเวอร์ Domain Controller มี Memory weight มากกว่าเซิร์ฟเวอร์ Print server เป็นต้น
วิธีการกำหนดค่า Memory weight ทำได้โดยการเลื่อนสไลด์ไปยังค่าที่ต้องการ โดยค่าดีฟอลท์เป็น Medium และสามารถทำการปรับระดับได้โดยไม่ต้องทำการปิดเวอร์ชวลแมชชีน อย่างไรก็ตาม มีข้อควรระวัง คือ การตั้งค่า Memory weight ให้กับเวอร์ชวลแมชชีนน้อยเกินไปอาจจะทำให้เวอร์ชวลแมชชีนไม่สามารถทำงานได้ถ้ามีเวอร์ชวลแมชชีนกำลังทำงานอยู่และมีหน่วยความบนเซิร์ฟเวอร์ Hyper-V เหลือน้อย
หมายเหตุ: สามารถอ่านรายละเอียดการติดตั้ง SP1 บน Windows Server 2008 R2 ได้จากเว็บไซต์ใน "แหล่งข้อมูลอ้างอิง"
สำหรับวิธีการคอนฟิก Dynamic Memory ให้กับเวอร์ชวลแมชชีนมีขั้นตอน ดังนี้
1. คลิก Start คลิก All Programs คลิก Administrative Tools แล้วคลิก Hyper-V Manager
2. ในหน้าต่าง Hyper-V Manager ในคอลัมน์ Virtual Machines ให้คลิกขวาบนเวอร์ชวลแมชชีนที่ต้องการแล้วคลิก Settings
3. ในหน้าต่าง Settings for VM_name ในคอนโซลทรีด้านซ้ายมือให้คลิกหัวข้อ Memory [1] จากนั้นในคอลัมน์ Memory ด้านขวามือ ในหัวข้อ Memory management ให้เลือกเป็น Dynamic [2] แล้วกำหนดค่า Startup RAM, Maximum RAM และ Memory buffer ตามความต้องการ
จากนั้นในหัวข้อ Memory weight [3] ให้กำหนดค่าลำดับความสำคัญในการจัดสรรหน่วยความจำให้กับเวอร์ชวลแมชชีนโดนการเลื่อนสไลด์ไปยังค่าที่ต้องการ เสร็จแล้วคลิก OK เพื่อจบการคอนฟิก
หลังจากทำการคอนฟิกเวอร์ชวลแมชชีนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะสามารถใช้คุณสมบัติ Dynamic Memory ซึ่งเป็นคุณสมบัติใน SP1 ได้
บทความโดย: Thai Windows Administrator Blog
Comments
Post a Comment